• โทร.0-4446-9262
  • info@khongcity.go.th

แสดงคำถาม เว็บบอร์ด
ไปหน้าคำถามรวม       ตั้งกระทู้ใหม่

ขอเชิญร่วมตอบคำถามค่ะ

เจ้าของคำถาม
คุณ กา - เสด
วันที่ 23 Jul 2007 16:33
IP 125.26.81.143

หัวข้อคำถาม :

มารู้จักเกษตรอินทรย์..... กันเถอะครับ

รายละเอียด :

เกษตรอินทรีย์ คืออะไร


เกษตรอินทรีย์ คือ : การทำการเกษตร (ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์)ฉ ที่ไม่ใช้สารเคมีมนุษย์ทำขึ้นแต่ใช้วัสดุจากธรรมชาติแทนเพื่อลดพิษภัยที่อาจเกิดจากสารเคมี ทั้งในดิน ในน้ำ ในอากาศและในผลผลิต

เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ตลอดจนไม่ใช้ฮอร์โมนจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์เน้นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและของชีวภาพ คือ ดินที่มีจุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในดินที่เป็นประโยชน์ในปริมาณมาก

เกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรเลียนแบบธรรมชาติ เป็นการทำการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ หัวของการทำการเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ดิน กระบวนการปรับปรุงบำรุงดินที่ตายแล้วคืนสู่ดินมีชีวิต จะไม่มีความยากลำบากใด ๆ เลยต่อเกษตรกรที่มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะเปลี่ยนจากเกษตรกรรมอันมืดมัวมาสู่เกษตรกรรมที่รุ่งเรือง ก้าวหน้า และมีสุขภาพพลานามัย หรือคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้การเปลี่ยนแปลงตามปกติ เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เมื่อปฏิบัติไปได้สักระยะหนึ่งเมื่อดินได้ถูกปรับสภาพแล้ว ผลผลิตของเกษตรอินทรีย์จะผิดไปจากเกษตรกรรมเคมีโดยสิ้นเชิง คือ รสชาติอร่อยเก็บไว้ได้นาน น้ำหนักดี สีสวย ไร้สารพิษปราศจากอันตรายต่อชีวิตผู้ผลิต และผู้บริโภคผลไม้บางชนิดและหลายชนิด เมื่อดินถูกปรับสภาพจะทำให้ผลผลิตดกตลอดปี เศรษฐกิจดีกว่าเก่า ปัญหาโรคแมลงศัตรูพืชจะลดลงเพราะจุลินทรีย์จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ภูมิต้านทานธรรมชาติใบอ่อนของพืชจะไม่ถูกทำลายใบแก่ที่ขาดภูมิต้านทานธรรมชาติอาจถูกทำลายจากศัตรูพืชบ้าง



ทำไม………..ต้องทำเกษตรอินทรีย์ ?

การทำการเกษตรระยะเวลา 50 กว่าปีที่ผ่านมา ได้ใช้พื้นที่ป่าไม้ไปมาก เป็นเหตุให้ปริมาณฝนลดน้อยลงและตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล ดินขาดการถูกบำรุงอย่างถูกต้อง ต้องใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมากเพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของพลเมืองที่เพิ่มขึ้นเมื่อใส่ปุ๋ยมากเกินไปทำให้ต้นพืช

อ่อนแอ จึงใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื่อโรคกันขนาดใหญ่ ผลที่เกิดขึ้นคือดินเสื่อมโทรม ปลูกพืชไม่ขึ้น สารพิษตกค้างในพืชผล ในดิน ในน้ำ คนสัตว์เจ็บป่วย คนทั่วโลกจึงหันมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์มากขึ้น





ทำเกษตรอินทรีย์แล้วขายที่ไหน ?

ก่อนคิดเรื่องขาย ขอให้ผู้ปลูกและคนไทยทุกคนคิดถึงเรื่องสุขภาพของผู้ปลูกและผู้บริโภคให้ได้กินอาหารที่ไม่มีสารพิษมีภัยก่อน เพราะจะทำให้คนไทยไม่เจ็บไข้ได้ป่วย

± ต่างประเทศรับซื้อแน่นอนหากผลผลิตได้มาตรฐาน

± ขณะนี้ทั่วโลกซื้อขายกันปีละ 600,000 ล้านบาท

± ตลาดใหญ่ ๆ คือยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น

± ที่ส่งขายแล้วขณะนี้มีข้าว กล้วยหอม หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว สับปะรด ข้าวโพด ผักอ่อน ขิง และสมุนไพรอื่น ๆ

± ราคาเฉลี่ยทั่วโลกสูงกว่าผลิตผลทั่วไป 20-50 เปอร์เซ็นต์



ตารางเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์
เกษตรเคมี เกษตรอินทรีย์
1. ดินเป็นกรดมากขึ้น
2. เชื้อโรคระบาดได้ง่าย

3. พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย สูญเสียมาก

4. รากกุดเพราะดินแน่น

5. ราคาแพงต้องพึ่งต่างประเทศ

6. เห็นผลเร็วแต่ไม่นาน มีผลผกระทบต่อระบบนิเวศเกษตร

7. คุณค่าทางอาหารน้อย

8. แมลงศัตรูพืชระบาดได้ง่าย

9. ตลาดโลกกีดกัน
1. ดินเป็นกลางเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
2. มีจุลินทรีย์ที่ยับยั้งหรือฆ่าเชื้อโรคในดินได้

3. พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่

4. รากเดินได้ดี ดินร่วนซุย

5. ราคาถูก หาง่ายในฟาร์ม พึ่งตนเอง

6. ถ้าปรับสภาพได้ดีแล้วจะเห็นผล ได้เร็วอยู่ได้นานไม่มีผลกระทบต่อนิเวศเกษตร

7. คุณค่าทางอาหารสูง

8. ลดปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืช มีความต้านทาน

9. เป็นแนวทางสู่การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน







วิธีและหลักการของเกษตรอินทรีย์
1. ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และยาปราบศัตรูพืช

2. มีการไถพรวนระยะเริ่มแรก และลดการไถพรวนเมื่อปลูกไปนาน ๆ เพื่อรักษาสภาพโครงสร้างของดิน

3. มีการเปลี่ยนโครงสร้างจองดินตามธรรมชาติ คือ มีการคลุมดินด้วยใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฟางแห้ง วัสดุอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นเพื่อรักษาความชื้นของดิน

4. มีการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปุ๋ยพืชสด

5. มีการเติมจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประโยชน์

6. มีการเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วย เช่น เทคนิคการปลูก การดูแลเอาใจใส่ การขยายพันธุ์พืชการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์การให้น้ำ ตลอดจนการเก็บเกี่ยว

7. มีการปลูกอย่างต่อเนื่องไม่ปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่าแห้งแล้ง ทำให้โครงสร้างของดินเสีย

จุลินทรีย์จะตาย อย่างน้อยให้ปลูกพืชคลุมดินชนิดใดก็ได้
8. มีการป้องกันโดยใช้สารสกัดธรรมชาติ เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้ ยาสูบ โล่ติ้น และพืชสมุนไพรอื่น ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น

ดังนั้น วิธีการเกษตรอินทรีย์ จึงมิใช่เกษตรกรรมของคนขี้เกียจ ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ต้องมีความมานะ พยายาม ขยันเอาใจใส่ อดทน ประหยัด ส่งเสริมเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม

หลักการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์ และการปรับปรุงดิน
õ ไม่เผาตอซัง ใช้ปุ๋ย ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ

õ ใช้วิธีผสมผสาน ระบบการปลูกพืชผสมผสานหลายชนิด และเกื่อ***ลกัน

คุณภาพของผลผลิตเกษตรอินทรีย์
ô รสชาติดี สีสวย น้ำหนักดี เก็บได้นาน

ô มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผู้บริโภคปลอดภัย

ô เพิ่มผลผลิตสูงขึ้น











การผลิตปุ๋ยอินทรีย์


ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ต่ำกว่าจุดวิกฤติ คือ น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ที่ตั้งของประเทศอยู่ในสภาพภูมิอากาศในเขตร้อนชื้นจึงมีอัตราการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินเกิดขึ้นเร็ว การทำการเกษตรติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่มีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินอย่างเพียงพอ หรือ ปริมาณอินทรีย์วัตถุที่ใส่ลวไปในดินน้อยกว่าอัตราการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุในดิน ความลาดเทของพื้นที่ และประกอบกับดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ทำให้เกิดการชะล้างหน้าดินสูง และการใช้ที่ดินอย่างไม่ถูกหลักการอนุรักษ์ดิน สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินลดลงอย่างรวดเร็ว

การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้แก่ดิน จึงเป็นแนวทางเดียวที่จะช่วยยกระดับของอินทรีย์วัตถุในดินให้สูงขึ้นซึ่งจะเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ และเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน ซึ่งเป็นวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ในขึ้นต้น ดังนี้

1. ไม่เผาตอซัง การเผาตอซัง เป็นการทำลายสภาพแวดล้อมทำให้มลภาวะเป็นพิษ ทำลายปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้โครงสร้างของดินจับตัวกันแน่น แข็งกระด้าง จุลินทรีย์ในดินที่มีประโยชน์ในพืชถูกทำลาย สูญเสียธาตุอาหารพืช และสูญเสียน้ำในดิน ทำให้ดินแห้ง ฉะนั้นเกษตรกรจะต้องไม่เผาตอซังโดยเด็ดขาด

2. การใช้ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก บำรุงดิน

÷ ปุ๋ยคอก

คือ มูลสัตว์ที่ขับถ่ายออกมาเป็นส่วนที่ร่างกายได้ย่อยสลายอินทรีย์สารไปแล้ว มูลสัตว์

เหล่านี้จึงมีคุณค่าทางสารอาหารแก่พืช

÷ ปุ๋ยหมัก

คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักเศษอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เช่น ฟางข้าว เศษหญ้า เศษอาหาร

ขยะสด เป็นต้น
3. การใช้ปุ๋ยพืชสด

÷ ปุ๋ยพืชสด

คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากต้นพืช และใบสดที่ปลูกเอาไว้หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ

เมื่อสับ - ตัด -กลบ หรือทิ้งไว้ให้เน่าเปื่อยผุพังหมดแล้วจะให้ธาตุอาหารพืช และเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุไปในดินซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกตามมา ปุ๋ยพืชสดที่นิยมใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสด คือ พืชตระ***ลถัว เช่น ถั่วพุ่มดำ ถั่วพร้า ถั่วเขียว ปอเทือง และ โสนอัฟริกัน เป็นต้น ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว ดูแลรักษาง่ายและเมื่อายุพืชปุ๋ยสดครบกำหนด คือ ถึงระยะเวลาออกดอกให้ทำการไถกลบ โดยทั่วไปมีอายุประมาณ 45-46 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดพืช ก็จะได้ปุ๋ยพืชสด ประมาณ 1-2 ตัน ต่อไร ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มปุ๋ยให้แก่ดินได้เร็ว จำนวนมาก ราคาถูก

4. การใช้ปุ๋ยชีวภาพ เป็นการใช้เทคนิคจุลินทรีย์ท้องถิ่น (ตามแบบของสมาคมเกษตรธรรมชาติของประเทศเกาหลีใต้ L.M.O.)

÷ ปุ๋ยชีวภาพ

คือ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ที่ทำประโยชน์ให้แก่ ดิน

และพืช ซึ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เหล่านี้จะเป็นตัวการทำให้พืชได้รับธาตุอาหารหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ทำใ ห้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี

÷ น้ำหมักชีวภาพ

คือ การนำเอาพืช ผัก ผลไม้ สัตว์ชนิด ต่าง มาหมักกับน้ำตาลทำให้เกิดจุลินทรีย์ ที่เป็น

ประโยชน์จำนวนมาก ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะไปช่วยย่อยสลายธาตุอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในพืชมีคุณค่าในแง่ของธาตุอาหารพืชเมื่อถูกย่อยสลายโดยกระบวนการย่อยสลายของแบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์สารต่าง ๆ จะถูกปลดปล่อยออกมา เช่น โปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ธาตุอาหารรองจุลธาตุ ฮอร์โมนเร่ง การเจริญเติบโต วิตามินซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการทำเกษตรอินทรีย์ที่ได้ผลและถูกต้องเหมาะสมจะต้องปรับปรุงบำรุงดินเป็นอันดับแรกด จนดินมีชีวิต (ดินอุดมสมบูรณ์) พร้อมกับเสริมความมั่นใจด้วย ใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี ก็จะประสบผลสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์อย่างแน่นอนเพียงแต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องจริงจังด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นตลอดไป



น้ำหมักชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพ
ปัจจุบันได้มีการเรียกชื่อน้ำหมักชีวภาพที่แตกต่างกันออกไป เช่น น้ำสกัดชีวภาพ ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ เป็นต้น และผู้คิดค้นวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพขึ้นมาขณะนี้ไม่ต่ำกว่า 100 สูตร โดยเกษตรกรเองได้ทดลองทำ และเรียนรู้นำไปใช้กับพืชผลของตนเอง ก็ได้พบความมหัศจรรย์ของเจ้าน้ำหมักชีวภาพตัวนี้ ว่าสามารถดลบันดาลให้พืชผลของตนเองเจริญเติบโตงอกงามขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระยเวลามิช้ามินาน ศัตรูพืชที่เคยเข้ามารบกวนพืชผลต่าง ๆ หลังจากปลูกไม่ว่าจะเป็นโรคแมลงค่อย ๆ ลดน้อยถอยลงไปเป็นลำดับ หลังจากที่ได้ใช้น้ำหมักชีวภาพนี้แล้ว จึงแสดงให้เห็นว่าน้ำหมักชีวภาพมีความสำคัญ และความจำเป็นต่อการทำเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง



ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ
ó เร่งการเจริญเติบโตของพืช ó เร่งการออกดอกของพืช

ó เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น ó เป็นสารไล่แมลงศัตรูพืชง

ó เป็นสารเสริมสุขภาพในคนและสัตว์ ó บำบัดกลิ่นเหม็นในปศุสัตว์

ó ฉีดพ่นก่อนไถกลบตอซังทำให้ตอซังนิ่ม ó บำบัดน้ำเสียในการประมง

ó เป็นสารเร่งและเป็นธาตุอาหารเสริมในปุ๋ยหมัก



วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ
จำแนกได้เป็น 7 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. การทำน้ำหมักชีวภาพจากพืชสด

2. การทำน้ำหมักชีวภาพจ่ากผลไม้

3. การทำน้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลา

4. การทำน้ำหมักชีวภาพจากมูลสัตว์

5. การทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะในครัวเรือน

6. การทำน้ำหมักชีวภาพจากสูตรรวมมิตร

7. การทำน้ำหมักชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช


วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพจากพืชสด
ส่วนผสม
1. พืชสดทั่วไปที่หาได้ในหมู่บ้าน เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ผักขม ผักเสี้ยน

หรืออื่น ๆ ที่สดตัดให้เป็นชิ้นเล็กรวมกัน 3 ส่วน

2. กากน้ำตาล 1 ส่วน

3. เปลือกสับปะรด 1 ส่วน

4. น้ำมะพร้าว 1 ส่วน (ถ้ามี)

วิธีทำ นำพืช กากน้ำตาลเปลือกสับปะรด และน้ำมะพร้าวตามอัตราส่วนผสมคลุกเคล้าด้วยกันบรรจุลงในถังหมักพลาสติก ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นาน 7 - 15 วัน จึงสามารถใช้ได้

ประโยชน์ / วิธีใช้
è เร่งการเจริญเติบโตของพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล ใช้น้ำหมักชีวภาพ 3 - 4 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นทุก ๆ 5 - 7 วัน

è ใช้เป็นสารเร่งและเพิ่มคุณภาพปุ๋ยหมัก ใช้กำจัดกลิ่นน้ำเสียหรือในคอกปศุสัตว์ใช้นำหมักชีวภาพ

15 - 20 ช้อน ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ราด รดให้ชุ่ม

è ให้แช่เมล็ดพันธุ์ก่อนเพาะปลูก 12 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกใช้น้ำหมักชีวภาพ 3 ช้อน ต่อน้ำ 1 ปี๊บ แช่เมล็ดพันธุ์

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้
ส่วนผสม
1. ผลไม้สุก เช่น ฟักทอง มะละกอ กล้วยน้ำหว้า หรือมะเขือเทศรวมกัน 2 ส่วน

2. พืชสดหลาย ๆ ชนิดสับเป็นชิ้นเล็ก 1 ส่วน

3. กากน้ำตาล 1 ส่วน

4. เปลือกสับปะรด 1 ส่วน

5. น้ำมะพร้าว 1 ส่วน (ถ้ามี)

วิธีทำ นำผลไม้ พืชสด กากน้ำตาล เปลือกสับปะรด น้ำมะพร้าวตามอัตราส่วน ผสมคลุกเคล้าเข้ากัน บรรจุถังหมักพลาสติกปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นาน 7 - 15 วัน จึงสามารถใช้ได้

ประโยชน์ / วิธีใช้
è เร่งการติดดอก ติดผล ของพืชผักผลไม้ ใช้นำหมักชีวภาพ 3 - 4 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ปี๊บ

(20 ลิตร) ฉีดพ่นทางใบ ทุก ๆ 5-7 วัน ตั้งแต่ระยะพืชออกดอก และติดผลได้

è ประโยชน์อื่น ๆ ได้เช่นเดียวกับน้ำหมักชีวภาพจากพืชสด

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพจากสัตว์

ส่วนผสม

1. เปลือกหอยเชอรี่บดละเอียดหรือปลา 2 ส่วน

2. กากน้ำตาล 1 ส่วน

3. เปลือกสับปะรด 1 ส่วน

4. น้ำมะพร้าว 1 ส่วน (ถ้ามี)

วิธีทำ นำหอยเชอรี่ทุบหรือบดละเอียดหรือปลา กากน้ำตาลและเปลือกสับปะรดผสมคลุกเข้าด้วยกัน ตามอัตราส่วน บรรจุลงถังหมักปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่มนาน 15-30 วัน ใช้งานได้

ประโยชน์และวิธีใช้
è ใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้เช่นเดียวกับน้ำหมักชีวภาพชนิดอื่น

วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช

วิธีทำ 1. ปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำน้ำหมักชีวภาพเพียงแต่เปลี่ยนชนิดพืชผัก ผลไม้เป็นชนิดพืชที่มีฤทธิ์ทางยาสมุนไพร เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ยาสูบ บอระเพ็ด สาบเสือ อื่น ๆ

2. หรือจะใช้วิธีนำพืชดังกล้าวมาทุบหรือตำให้แตก แช่น้ำหมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำไปใช้ฉีดพ่นพืชได้

ประโยชน์ / วิธีใช้

è เช่นเดียวกับน้ำหมักชีวภาพทั่วไป



ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำและใช้น้ำหมักชีวภาพ

1. ควรใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่น ราด รดพืชผัก ผลไม้ในเวลาเช้าหรือเย็นไม่ควรให้ถูกแสงแดดเนื่องจากน้ำหมักชีวภาพมีชีวิต คือ จุลนทรีย์ที่เป็นประโยชน์

2. ไม่ควรใช้นำหมักชีวภาพร่วมกับสารเคมีทุกชนิด

3. เคล็ดลับการหมัก ให้คอยเขย่าถังหมักพร้อมเปิดฝาวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น เมื่อครบ 7 วัน ให้ดมกลิ่นว่าหอมหวานแสดงว่าดีใช้ได้ แต่ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยว ให้แก้ไขด้วยการเติมกากน้ำตาลเพิ่มหมักต่ออีก 3 วัน แล้วให้ดมกลิ่นดู ถ้ายังมีรกลิ่นบูดเปรี้ยวอีกให้เติมกากน้ำตาลหมักไว้จนกว่าจะมีกลิ่นหอมหวาน การเก็บน้ำหมักชีวภาพที่ดีต้องเก็บไว้ในที่มืดภายในอุณหภูมิห้องนาน 6 เดือน - 1 ปี ระหว่างที่เก็บหากมีกลิ่นบูดเปรี้ยวก็ให้เติมกากน้ำตาลลงไปแล้วหมักต่อ

4. การใช้น้ำหมักชีวภาพ ถ้าจะให้ได้ผลต้องใช้ควบคู่กับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก



ผลิตจากหอยเชอรี่

วิธีที่ 1 การทำจากหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมเปลือก
นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียดจะได้เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือกและน้ำจากตัวหอยเชอรี่ และนำผสมกับน้ำตาล และน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3 : 3 : 1 คนให้เข้ากันและนำไปบรรจุในถังหมักขนาด 30 ลิตร หรือ 200 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งปิดฝาทิ้งไว้อาจคนให้เข้ากันหากมีการแบ่งชั้นให้สักเกตุดูว่ากลิ่นเหม็นหรือไม่ ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้ใส่น้ำตาลโมลาสเพิ่มขึ้น และคนให้เข้ากันจนกว่าจะหายเหม็น ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะไม่เกิดแก๊ซให้เห็นบนผิวหน้าของน้ำหมักหอยเชอรี่ แต่จะเห็นความระยิบระยับอยู่ที่ผิวหน้าน้ำหมักดังกล่าว บางครั้งอาจจะพบว่ามีตัวหนอนลอยบนผิวหน้าและบริเวณข้างถังภาชนะบรรจุ ควรรอจนกว่าตัวหนอนดังกล่าวตัวใหญ่เต็มที่และตายไป ถือว่าน้ำหมักหอยเชอรี่ทั้งตัวเสร็จสิ้นขบวนการกลายเป็นน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ สามารถนำไปใช้ได้หรือนำไปพัฒนาผสมผสานกับปุ๋ยน้ำอื่น ๆ ใช้ประโยชน์ต่อไป

วิธีที่ 2 การทำจากไข่หอยเชอรี่
นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด จะได้นำไข่หอยเชอรี่พร้อมเปลือกแล้วนำไปผสมกับกากน้ำตาลและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3 : 3 : 1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1
วิธีที่ 3 การทำจากไข่หอยเชอรี่และพืช
นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด และนำไปผสมกับพืชส่วนที่อ่อน ๆ หรือส่วนยอดความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว หรือไม่เกิน 1 คืบ ที่หั่นหรือบดละเอียดแล้วเช่นกัน แล้วนำมาผสมกันในอัตราส่วน ไข่หอยละเอียด : กากน้ำตาล : พืชส่วนอ่อนบดละเอียดและน้ำหมักหัวเชื่อจุลินทรีย์ธรรมชาติ คือ 3 : 3 : 1 แล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1
วิธีที่ 4 นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวจำนวนเท่าใดก็ได้มาต้มในกะทะ
พร้อมทั้งใส่เกลือแกงผสมไปด้วยในจำนวนพอเหมาะเพื่อให้เนื้อหอยเชอรี่แยกจากเปลือกได้ง่ายขึ้นและนำเฉพาะเนื้อหอยเชอรี่มาบดให้ละเอียดให้ได้จำนวน 3 ส่วน เพื่อผสมกับกากน้ำตาลและน้ำหมักจากเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ 3 : 3 : 1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1
วิธีที่ 5 การทำจากเนื้อหอยเชอรี่และพืชสด
นำเนื้อหอยเชอรี่ที่ได้จากการต้มกับเกลือเหมือนวิธีที่ 4 มาบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับกากน้ำตาลและชิ้นส่วนของพืชที่อ่อน ๆ เหมือนอัตราส่วนเนื้อหอยเชอรี่บดละเอียด : น้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ คือ 3 : 3 : 1 ผสมให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่

วิธีที่ 6 การทำจากเนื้อหอยเชอรี่ไข่หอยเชอรี่และพืชสด
วิธีการนี้เป็นการผสมปุ๋ยหมักแบบเบ็ดเสร็จไม่ต้องแยกวัสดุแต่ละชนิดควรใช้อัตราส่วน ดังนี้เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก หรือเนื้อหอยเชอรี่อย่างเดียว :ไข่หอยเชอรี่ :พืชก่อน อัตรา 3:3:5-6:2:3 มีข้อสังเกตุเพียงดูว่ากลิ่นเหม็นหรือไม่เพียงใด หากมีกลิ่นเหม็นให้เติมกากน้ำตาล และน้ำหมักหัวเชื้อ
จุลินทรีย์ธรรมชาติเพิ่มขึ้นจนกว่าจะไม่มีกลิ่น จะใช้เวลานานแค่ไหนเพียงใดให้ดูลักษณะผิวหนังของน้ำหมัก เช่นเดียวกับการทำน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติอัตราการใช้พืชที่อายุน้อย ระยะการเจริญเติบโตแรก ๆ ใช้อัตราเดียวกับการทำน้ำหมักหัวเชื้อจะลินทรีย์ธรรชาติอัตราการใช้พืชที่อายุน้อย ระยะการเจริญเติบโตแรก ๆ ใช้อัตรา 1:500-10,000 หรือจาการทดสอบเบื้องต้นพบว่าอัตราที่เหมาะสมคือ 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดอายุช่วงการเจริญเติบโตของแต่ละพืชว่าเป็นพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ ข้าว เป็นต้น ซึ่งยังต้องการข้อมูลจากการทดสอบอีกมาก

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
การทำปุ๋ยหมัก
วิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

ส่วนผสม

1. มูลสัตว์แห้ง 3 ส่วน 2. แกลบดิบเปลือกถั่วหรือเศษพืช 3 ส่วน

3. แกลบดำ 1 ส่วน 4. รำละเอียด 1 ส่วน

5. น้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาลอย่างละ 3-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ นำส่วนผสมต่าง ๆ คลุกเข้าด้วยกัน รดด้วยน้ำหมักชีวภาพพอชุ่ม หมักกองไว้ 5-7 วัน ในที่ร่มโดยจะกองกับพื้นดินคลุมด้วยกระสอบ หรือบรรจุกระสอบปิดปากก็ได้ถ้ามีใยสีขาวมีกลิ่นหอม แสดงว่าใช้งานได้

วิธีการทำปุ๋ยหมักดินชีวภาพ

ส่วนผสม

1. ดินแห้งทุบละเอียดหรือดินขุยไผ่ 5 ส่วน 3. แกลบดำ 2 ส่วน

2. มูลสัตว์แห้ง 2 ส่วน 4. รำละเอียด 2 ส่วน

5. ขุยมะพร้าว 2 ส่วน

6. น้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาลอย่างละ 3-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ นำส่วนผสม 1-5 ผสมคลุกเข้ากัน รดด้วยน้ำหมักชีวภาพพอชุ่ม หมักไว้ 3-5 วัน มีราขึ้นกลิ่นหอมเหมือนเห็ดใช้งานได้

ประโยชน์ / วิธีใช้
è เหมาะสำหรับผสมดินทั่วไป ใช้เพาะต้นไม้ ปักชำ ตอนกิ่ง จะทำให้ต้นกล้าไม้สมบูรณ์ แข็งแรง โดยใช้ปุ๋ยหน้าดินผสมดินร่วนแกลบเผาผสมคลุกเข้ากันให้ดีก่อนนำไปใช้ในอัตรา 1:1:1

การทำปุ๋ยคอกหมักชีวภาพ
ส่วนผสม

1. ปุ๋ยคอก 1 ส่วน

2. แกลบเผา 1 ส่วน

3. รำละเอียด 1 ส่วน

4. น้ำหมักชีวภาพ และกากน้ำตาลอย่างละ 3-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ นำส่วนผสมมาคลุกเข้าด้วยกัน รดน้ำด้วยน้ำหมักชีวภาพพอชุ่ม กองปุ๋ยหมักหนา ประมาณ 1.5 ซม. คลุมด้วยกระสอบพลิกกลับวันละ 1 ครั้ง ทิ้งไว้ 3-5 วันนำไปใช้ได้

วิธีใช้ ใช้ได้ดีกับพืชผักทุกชนิด ปุ๋ยคอกจะมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืชมากขึ้น



การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพกับไม้ผล ไม้ยืนต้น

การเตรียมหลุมปลูก

ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม ผสมกับดินเดิม คลุมด้วยฟาง รดด้วยน้ำหมักชีวภาพ 3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วันก่อนปลูก

ไม้ผลที่ปลูกแล้ว
1. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดกิ่งใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตรบริเวณรอบทรงพุ่มคลุมด้วยฟางใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 2 ครั้ง

2. รดด้วยน้ำหมักชีวภาพเพื่อกระตุ้นการแตกยอดจากใบใหม่ อัตรา 3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 10 ลิตรเดือน ละ 2 ครั้ง ตามช่วงอายุการเจริญเติบโตล

3. เมื้อไม้ผลติดดอก ติดผล ควรเพิ่มการใช้น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้หรือจากสัตว์ เป็นเดือนละ 1 ครั้ง










การผลิตพืชอินทรีย์ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง











 แจ้งลบคำถามนี้

ผู้ร่วมตอบ

ผู้ตอบ
คุณ nonglek
วันที่ 7 เม.ย. 2552 07:32
IP 203.156.45.57
คำตอบที่ 3

 แจ้งลบคำตอบนี้  

[img][/img]

ผู้ตอบ
คุณ วิษณุ พันธ์สุข
วันที่ 12 มิ.ย. 2552 09:59
IP 117.47.174.91
คำตอบที่ 2

 แจ้งลบคำตอบนี้  

ผู้ตอบ
คุณ 1582
วันที่ 3 ก.ค. 2552 13:56
IP 203.113.122.254
คำตอบที่ 1

 แจ้งลบคำตอบนี้  

เขียนได้ละเอียดดีมากๆ

เชิญร่วมตอบคำถามได้ที่นี่ค่ะ

เลือกคลิกที่ Icon เพื่อเลือกรูป ลักษณะ สี ประกอบคำตอบ

ชื่อผู้ตอบ :



คำตอบของคุณ :





กรุณาป้อน ตัวอักษรที่ท่านเห็นในรูป ด้านบนนี้ ลงในช่องด้านล่าง